บทความ / นวัตกรรมเชิงนโยบาย
Published: 18.10.2023

วามผันผวนของโลกนโยบายที่ซับซ้อนขึ้นจนทำให้นักนโยบายสาธารณะต้องคอยแก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้าก่อน อาจทำให้บางครั้งเราหลงลืมเป้าหมายในระยะยาว แม้บางคนอาจมองว่า การแก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้าเป็นสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนมากกว่า แต่แท้จริงแล้วหากเราไม่สร้างสมดุลระหว่างการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือการหวังผลในระยะสั้น และการวางแผนเพื่อหวังผลในระยะยาว สิ่งนี้อาจสร้างผลเสียให้เราในระยะยาวได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดปัญหาสะสมที่เปรียบเสมือนคลื่นใต้น้ำที่พร้อมปะทุได้ทุกเมื่อ ตัวอย่างเช่น ภาวะโลกร้อนที่เป็นหนึ่งในปัญหาสะสมซึ่งเกิดจากการดำเนินนโยบายที่หวังผลในระยะสั้น แต่สร้างปัญหาในระยะยาว เช่น สภาพอากาศแปรปรวน หน้าร้อนร้อนกว่าปกติ ไฟป่า ฯลฯ

Thailand Policy Lab ขอแนะนำ 4 วิธีหาจุดสมดุลระหว่างการวางแผนเพื่อหวังผลในระยะสั้นและระยะยาวไปพร้อมๆ กัน ดังนี้

1. ใช้เวลากับการวางยุทธศาสตร์ในระยะยาว – แม้สถานการณ์เฉพาะหน้าจะบีบให้นักนโยบายต้องเร่งแก้ปัญหาเร่งด่วนก่อน แต่เราต้องอย่าลืมใช้เวลากับการวางแผนยุทธศาสตร์ในระยะยาว เพื่อไม่ให้การดำเนินนโยบายหลงทางไปจากเป้าหมาย

2. ให้คำนิยามเป้าหมายระยะยาวที่ชัดเจน และเช็คว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในนโนยายมีเป้าหมายตรงกัน – เป้าหมายระยะสั้นอาจเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะหน้า ในขณะที่เป้าหมายระยะยาวควรเป็นไปตามจุดประสงค์ขององค์กร

3. กำหนดเกณฑ์การวัดผลสัมฤทธิ์ของแผนระยะยาวและระยะสั้นให้ต่างกัน (KPIs) หรือจะคิดกลไกการวัดผลของแผนระยะยาวและแผนระยะสั้นให้แตกต่างกัน – แผนระยะยาวและแผนระยะสั้นถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ที่ต่างกัน ดังนั้นการวัดผลจึงต้องออกแบบให้แตกต่างกันด้วย

4. ตั้งเป้าหมายระยะกลางให้กับแผนระยะยาว – การตั้งเป้าหมายระยะกลางจะช่วยให้เห็นภาพแผนระยะยาวมากขึ้น เช่น ถ้าตั้งเป้าดำเนินนโยบายพัฒนาด้านการศึกษา อาจจะตั้งเป้าหมายระยะสั้นว่า นักเรียนได้คะแนน PISA เพิ่มขึ้น ส่วนเป้าหมายระยะกลาง คือ นักเรียนสามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำได้เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างประเทศที่ประสบปัญหาจนต้องมาตั้งหลักวางแผนระยะยาวคือ “ประเทศสวีเดน” ในช่วงศตวรรษที่ 1990 ที่ประสบปัญหาการคลังอย่างรุนแรงและมีจำนวนคนว่างงานเพิ่มสูงขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่รัฐบาลสวีเดนสามารถกลับมาตั้งหลักได้ด้วยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการวางแผนระยะยาว โดยรัฐบาลกำชับว่า การดำเนินนโยบายต้องคิดถึงผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จนเกิดการปฏิรูปรัฐบาลครั้งใหญ่ ได้แก่ การปฏิรูปการเก็บภาษี การปฏิรูปภาคส่วนคมนาคมและพลังงาน การออกนโยบายช่วยเหลือผู้ว่างงาน รวมไปถึงการให้ความสำคัญกับเยาวชนมากขึ้น 

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สวีเดนกลับมาตั้งหลักอย่างยั่งยืนได้คือ การให้ภาคส่วนธุรกิจนำการพัฒนาที่ยั่งยืนเข้าไปปรับใช้ในการบริหารธุรกิจด้วย จนในที่สุดเศรษฐกิจของสวีเดนก็สามารถฟื้นกลับมาได้ จนผลิตภัณฑ์รวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทวีปยุโรปได้ในช่วงปลายศตวรรษที่ 1990 

แม้ปัญหาเฉพาะหน้าจะถาโถมมามากเท่าไหร่ แต่เราไม่ควรละเลยการวางแผนในระยะยาว เพราะไม่เช่นนั้น ปัญหาเหล่านั้นอาจสะสมจนกลายเป็นคลื่นใต้น้ำที่คอยปะทุเป็นวิกฤติการณ์เมื่อไหร่ก็ได้ เหมือนปัญหาเศรษฐกิจในประเทศสวีเดนที่เป็นปัญหาสะสมมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยนักนโยบายอาจเริ่มจากการให้เวลากับการวางแผนยุทธศาสตร์​ พร้อมกำหนดเป้าหมายระยะกลาง ระยะยาว เพื่อไม่ให้หลงทาง

ที่มา:
Asian Development Bank Institute
Be the Business
PWC

งานของเรา
สำรวจการนำนวัตกรรมมาออกแบบนโยบาย
คลังความรู้
เรียนรู้ด้านนโยบายสาธารณะ
ร่วมกับเรา
ออกแบบนโยบายกับเรา
Back to Top